FAQ

FAQ การส่งรายงานการจัดการพลังงานทางอิเล็กทรอนิคส์ (E-Form)

ถาม : ควรใช้ Web Browser ใดในการกรอกข้อมูลและส่งรายงานทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แก่ พพ.
ตอบ : IE แต่ ควรใช้ Microsoft Internet Explorer Version 10 ขึ้นไป , Chrome , Opera , Mozilla Firefox เป็น Web Browser

ถาม : หากใช้ Web Browser อื่นๆ จะมีข้อเสียอย่างไร
ตอบ : เนื่องจากความสามารถของ Web Browser แต่ละค่ายมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน ซึ่งระบบ E-Form ของ พพ. ถูกพัฒนาและทดสอบใช้งานบน IE10 , Chorme , Opera , Mozilla Firefox เป็นหลัก ดังนั้นหากเป็นค่ายอื่นอาจทำให้เกิด Bug ของการทำงานโปรแกรมขึ้นได้ ส่งผลให้ข้อมูลรายงานที่กรอกอาจไม่ถูกต้องไปด้วย

ถาม : ไม่สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ https://eform.dede.go.th ทำอย่างไร
ตอบ : ให้ตรวจสอบ URL อีกครั้งว่าไม่ได้พิมพ์ผิด หากตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ให้ทดลองใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สัญญาอินเตอร์เน็ตจากที่อื่นนอกหน่วยงานท่านเพื่อเข้าสู่ระบบ หากใช้งานได้ให้ลองตรวจสอบกับผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์หน่วยงานของท่านว่ามีการล็อคการใช้อินเตอร์เน็ตเฉพาะ Port 80 หรือไม่

ถาม : รหัสลงทะเบียน 32 หลักที่ได้รับจาก พพ. ในการลงทะเบียนมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ : รหัสลงทะเบียน 32 หลัก เป็นหลักที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละโรงงาน/อาคาร เป็นระบบความปลอดภัยซึ่งใช้ในการยืนยันตัวตนจริงของโรงงาน/อาคารผู้ให้ข้อมูลต่อ พพ.

ถาม : การลงทะเบียนผู้บันทึกข้อมูล และผู้ยืนยันการส่งรายงาน สามารถเป็นคนเดียวกันได้หรือไม่
ตอบ : ตามข้อกำหนดของ พพ. ผู้กรอกข้อมูลหมายถึง วิศวกร หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน หรือเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล แต่ผู้ยืนยันการส่งรายงานหมายถึง เจ้าของสถานประกอบการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจแทน ซึ่งจะต้องไม่ใช่บุคคลเดียวกันใน 2 หน้าที่นี้

ถาม : หากเจ้าของสถานประกอบการ 1 คนเป็นเจ้าของหลายโรงงานหรืออาคารควบคุมจะลงทะเบียนเป็นผู้ยืนยันการส่งรายงานให้แก่ พพ. ได้อย่างไรเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน
ตอบ : ให้ลงทะเบียนด้วย อีเมล ที่แตกต่างกันในแต่ละโรงงาน/อาคาร แม้จะเป็นบุคคลเดียวกัน เนื่องจากรหัส อีเมล ที่ลงทะเบียนนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจะเข้าถึงข้อมูลโรงงาน/อาคารใด หากเป็นรหัส อีเมล เดียวกันแล้วระบบก็จะไม่สามารถกำหนดโรงงาน/อาคารที่เข้าถึงได้

ถาม : หากเจ้าของสถานประกอบการเป็นชาวต่างชาติไม่มีเลขที่บัตรประชาชนจะลงทะเบียนอย่างไร
ตอบ : ให้ระบุข้อมูลว่าเป็นชาวต่างชาติ และใช้ข้อมูลเลขที่ Passport พร้อมกับระบุประเทศที่ออกให้

ถาม : ทำไมลงทะเบียนแล้ว ไม่ได้รับ อีเมล ตอบกลับจากระบบ
ตอบ : ให้ตรวจสอบ อีเมล ใน spam mail หรือ junk mail ก่อน ซึ่งบางครั้งระบบรักษาความปลอดภัย อีเมล ของท่านอาจมอง อีเมล ของ พพ. เป็น อีเมล ที่ไม่รู้จัก หากตรวจสอบแล้วแน่ใจว่าไม่พบให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของ พพ. เพื่อตรวจสอบ และส่ง อีเมล ให้อีกครั้ง เนื่องจาก อีเมล ที่ท่านลงทะเบียนอาจมีการพิมพ์ผิดโดยที่ไม่ทราบ หรืออาจมีรหัสอักษรอื่นๆ พิมพ์ติดเข้าไปด้วย ทำให้ระบบส่ง อีเมล ไปผิดที่ หรือ ส่งไม่ได้

ถาม : ทำไมได้รับรหัสผ่านจาก อีเมล แล้วแต่ไม่สามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบได้
ตอบ : ขอให้ตรวจสอบรหัสผ่านว่าท่านพิมพ์ตัวอักษรผิดหรือไม่เช่น ตัว l (แอลเล็ก) เป็น ตัว I (ไอใหญ่) หรือเลข 1 หรือคีย์บอร์ดของท่านเป็นรหัสภาษาไทยอยู่หรือไม่ หรือ คีย์บอร์ดของท่านอยู่ในสถานะ Cap Lock หรือ Num Lock หรือไม่ อีกกรณีให้ตรวจสอบอีเมลที่ลงทะเบียน เป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือตัวพิมพ์เล็ก เหมือนกับที่ใช้ล็อกอินหรือไม่ เนื่องจากตัวอักษรพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กมีผลต่อการเข้าใช้งาน

ถาม : หากเคยลงทะเบียนขอใช้ระบบมาแล้ว แต่จำรหัสผู้บันทึกข้อมูลไม่ได้ หรือ จำรหัสผู้ยืนยันการส่งรายงานไม่ได้ จะทำอย่างไร
ตอบ : ให้ทำการลงทะเบียนขอใช้ระบบใหม่อีกครั้ง โดยระบุ TSIC-ID และรหัส 32 หลักเดิมที่เคยลงทะเบียน หลังจากนั้นระบบก็จะแสดงข้อมูลต่างๆ ให้ทราบ

ถาม : หากมีปัญหาการใช้งานโปรแกรมจะติดต่อ พพ. ทางใด
ตอบ: ติดต่อเจ้าหน้าที่โทร 02-223-0021-9 ต่อ 1411, 1407,1669 และ 1323 โทรสาร : 02-226-3943 อีเมล : eform@dede.go.th , Facebook : www.facebook.com/eform3

ถาม : เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบแล้วจำเป็นต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเดิมหรือไม่
ตอบ : จำเป็นมาก ซึ่งควรจะเปลี่ยนรหัสผ่านในครั้งแรกทันทีที่เข้าสู่ระบบได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายงานการจัดการพลังงานของท่าน

ถาม : หากลืมรหัสผ่านจะต้องทำอย่างไร
ตอบ : ให้เข้าสู่หน้าจอล็อกอินแล้วเลือกเมนู ลืมรหัสผ่าน แล้วดำเนินขั้นตอนตามคำแนะนำของระบบ ซึ่งระบบจะส่ง อีเมล เพื่อให้ท่านทราบก่อนว่าจะขอรีเซ็ทรหัสผ่านเดิม หากยืนยันให้ท่านดำเนินการตามขั้นตอนใน อีเมล แล้วระบบจะส่งรหัสผ่านใหม่ให้ผ่าน อีเมล อีกฉบับ

ถาม : ควรเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยแค่ไหน
ตอบ : ควรเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างน้อยที่สุด 1 รอบรายงานหรือ 1 ปี เพื่อความปลอดภัยข้อมูลของท่าน หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้บันทึกข้อมูล หรือผู้ยืนยันการส่งรายงาน

ถาม : หากมีการเปลี่ยนแปลง อีเมล ของผู้บันทึกข้อมูล หรือ ผู้ยืนยันการส่งรายงาน จะต้องทำอย่างไร
ตอบ : ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ. และ แจ้งรหัสลงทะเบียน 32 หลัก ต่อเจ้าหน้าที่ พพ. พร้อมทั้งแจ้งการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้บันทึกข้อมูล หรือผู้ยืนยันการส่งรายงาน ทันที ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยข้อมูลของท่านจากผู้บันทึกข้อมูล หรือผู้ยืนยันการส่งรายงานคนเดิม ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนบุคลากรที่รับผิดชอบก็จะต้องเปลี่ยน อีเมล ด้วย ไม่ควรใช้ อีเมล เดิม

ถาม : การสร้างรายงานประจำปี หากสร้างผิดจะแก้ไขอย่างไร
ตอบ : ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ. เป็นผู้แก้ไขให้

ถาม : ข้อมูลรายงานที่บันทึกหากบันทึกแล้วสามารถ ลบ หรือแก้ไขได้หรือไม่
ตอบ : ได้จนกว่าจะมีการยืนยันการส่งรายงานแก่ พพ. แล้วจะไม่สามารถแก้ไขใดๆ ได้อีก

ถาม : ข้อมูลทั่วไประบบแสดงให้อัตโนมัติ แต่ไม่ตรงกับความเป็นจริงของโรงงาน/อาคาร ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ : ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ. เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องในทันที หรือ ก่อนถึงกำหนดส่งรายงานการจัดการพลังงานไม่น้อยกว่า 60 วัน 

ถาม : การกรอกข้อมูลวันที่มีรูปแบบอย่างไร
ตอบ : ให้กรอกเป็นรูปแบบ วว/ดด/ปปปป เท่านั้น และจะต้องเป็นปี พ.ศ. 4 หลัก ตัวอย่าง เช่น วันที่ 1 กันยายน 2014 ให้กรอกเป็น 01/09/2557 , วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ให้กรอกเป็น 20/11/2557
หมายเหตุ : ผู้ใช้งานจะต้องตรวจสอบค่า และตั้งค่า Region Short Date ของ Microsoft Windows เป็น d/M/yyyy และ Format มีค่าเท่ากับ Thailand

ถาม : ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของโรงงานเรียงลำดับอย่างไร
ตอบ : เรียงลำดับผลิตภัณฑ์ตามประเภท TSIC ของโรงงานควบคุมแล้วตามด้วยผลิตภัณฑ์อื่นๆ เรียงตามตัวอักษร

ถาม : ไม่พบผลิตภัณฑ์ในระบบ ทำให้กรอกข้อมูลไม่ได้
ตอบ : ให้ผู้บันทึกข้อมูล ปรึกษาวิศวกร หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ว่าควรจัดผลิตภัณฑ์ตามรายงานให้อยู่ในหมวดผลิตภัณฑ์ใดตามมาตรฐาน พพ. และให้กรอกชื่อผลิตภัณฑ์จริงของโรงงานในรายการชื่อผลิตภัณฑ์ของโรงงาน หากไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์มาตรฐานของ พพ. ได้เลยให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ.

ถาม : หน่วยผลิตภัณฑ์ของโปรแกรมไม่ตรงกับรายงานจึงไม่สามารถกรอกข้อมูลได้
ตอบ : หน่วยผลิตภัณฑ์ที่ พพ. กำหนด จะอยู่ในรูปของน้ำหนัก หรือ ปริมาตร เท่านั้นซึ่งสามารถใช้ในการเปรียบเทียบได้ หากเป็นหน่วยอื่นๆ เช่น ชิ้น กล่อง อัน ที่เป็นหน่วยนับ ขอให้ผู้บันทึกข้อมูลปรึกษาวิศวกร หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน เพื่อแปลงหน่วยให้อยู่ในรูปปริมาตร หรือ น้ำหนักแทน แล้วจึงกรอกข้อมูล แต่หากหน่วยผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปปริมาตร กับน้ำหนักแล้ว แต่ไม่ตรงกับโปรแกรมให้วิศวกร หรือผู้รับผิดชอบข้อมูลนั้นทำการแปลงหน่วยให้อยู่ในหน่วยมาตรฐานที่กำหนดของ พพ. แล้วจึงกรอกข้อมูล

ถาม : กระบวนการผลิต 1 กระบวนการผลิตใช้มากกว่า 1 เชื้อเพลิงจะกรอกข้อมูลอย่างไร
ตอบ : วิธีที่ 1 ให้กรอกเชื้อเพลิงหลักที่ใช้พลังงานมากที่สุด
วิธีที่ 2 หากมีการใช้เชื้อเพลิงมากกว่า 1 ชนิดในปริมาณใกล้เคียงกัน ให้พิจารณากระบวนการดังกล่าวแยกเป็นกระบวนการย่อยแล้วจึงกรอกข้อมูลเชื้อเพลิง

ถาม : การกรอกข้อมูลปริมาณต่างๆ ระหว่าง ไม่กรอก กับ กรอกค่าเป็น 0 ต่างกันอย่างไร
ตอบ : หากปริมาณเป็น 0 หมายถึงมีปริมาณน้อยมากอาจเป็นทศนิยมที่ละเอียด ส่วนค่าว่าง หมายถึงไม่มีข้อมูลนั้นเลย ซึ่งทั้ง 2 กรณีจะให้ผลลัพธ์ของค่าเฉลี่ยของข้อมูลแตกต่างกัน ดังนั้นหากไม่มีข้อมูลให้เว้นค่านั้นไว้ไม่ต้องกรอก 0 เข้าสู่ระบบ

ถาม : การกรอกข้อมูลที่เป็นตัวเลข จะต้องกรอกอย่างไร
ตอบ : ให้กรอกข้อมูลที่เป็นตัวเลขโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายลูกน้ำคั่น หากมีทศนิยมให้ใส่เครื่องหมายจุดก่อนเลขทศนิยม

ถาม : ไม่พบเชื้อเพลิงในระบบ ทำให้กรอกข้อมูลไม่ได้
ตอบ : ให้ผู้บันทึกข้อมูล ปรึกษาวิศวกร หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ว่าควรจัดเชื้อเพลิงตามรายงานให้อยู่ในหมวดเชื้อเพลิงใดของระบบ หากจัดไม่ได้เลยหรือเป็นเชื้อเพลิงชนิดใหม่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ.

ถาม : หน่วยเชื้อเพลิงของโปรแกรมไม่ตรงกับรายงานจึงไม่สามารถกรอกข้อมูลได้
ตอบ : หน่วยเชื้อเพลิงที่กำหนด จะอยู่ในรูปของน้ำหนัก หรือ ปริมาตร ที่เป็นมาตรฐานการรายงานของ พพ. ประกอบกับหน่วยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับค่าความร้อน  ดังนั้นขอให้โรงงาน/อาคารแปลงหน่วยให้ตรงตามมาตรฐาน พพ. แล้วจึงกรอกข้อมูล

ถาม : เครื่องจักรอุปกรณ์ของโปรแกรมไม่ตรงกับรายงานจึงไม่สามารถกรอกข้อมูลได้
ตอบ : ให้ผู้บันทึกข้อมูล ปรึกษาวิศวกร หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ว่าควรจัดเครื่องจักรอุปกรณ์ตามรายงานให้อยู่ในเครื่องจักรอุปกรณ์ใดตามมาตรฐาน พพ. หากไม่สามารถใช้เครื่องจักรอุปกรณ์มาตรฐานของ พพ.  ได้เลย หรือเป็นเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ.

ถาม : มาตรการของโปรแกรมไม่ตรงกับรายงานจึงไม่สามารถกรอกข้อมูลได้
ตอบ : ให้ผู้บันทึกข้อมูล ปรึกษาวิศวกร หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ว่าควรจัดมาตรการตามรายงานให้อยู่ในมาตรการใดตามมาตรฐาน พพ. และให้กรอกชื่อมาตรการจริงของโรงงาน/อาคารในรายการชื่อมาตรการของโรงงาน/อาคาร หากไม่สามารถใช้มาตรการมาตรฐานของ พพ.  ได้เลย หรือเป็นมาตรการใหม่ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ พพ.

ถาม : ทำไมอัพโหลดไฟล์แนบไม่ได้ทั้งที่ขนาดไม่เกิน 512 KB
ตอบ : กรณีที่ 1 ให้ผู้บันทึกข้อมูล ตรวจสอบว่าชื่อไฟล์ที่อัพโหลดเป็นภาษาไทย หรือ มีเว้นวรรคระหว่างชื่อไฟล์ หรือมีอักษรพิเศษหรือไม่ หากมีให้ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็นอักษรภาษอังกฤษใดๆ ที่ไม่มีเว้นวรรค ก่อนแล้วจึงอัพโหลดอีกครั้ง
         กรณีที่ 2 ขนาดไฟล์ภาพมีขนาดไม่เกินตามที่ พพ. กำหนด แต่ไม่สามารถ upload ได้ ให้้ผู้ใช้งานทดสอบโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากภายนอกแล้วลอง upload ไฟล์ภาพดังกล่าวใหม่ หาก upload ได้ แสดงว่าโรงงาน/อาคารของท่านมีการบล็อกการ upload ไฟล์สู่อินเตอร์เน็ต ดังนั้นผู้ใช้งานจะต้องติดต่อผู้ดูแลระบบในองค์กรของท่านเองเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
         กรณีที่ 3 upload ไฟล์ภาพแล้วปรากฎว่าเป็นภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ให้ผู้ใช้งานทำการ Refresh Web Page จากเมนูของ Web Browser หรือให้นำเมาส์ไปคลิ๊กที่ช่อง URL Address แล้วกดปุ่ม F5 หรือ ให้ผู้ใช้งานทำการลบแคชของ Browser นั้นก่อน ทั้งนี้การที่ภาพไม่เปลี่ยนเนื่องมาจากแคชอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้งานไม่ไ้ด้ Refresh อัตโนมัติ